ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โอซะกะ (เมือง)

โอซะกะ (ญี่ปุ่น: ?? ?saka ?) หรือออกเสียงแบบไทยคือ โอซาก้า มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซะกะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น

นครโอซะกะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น?อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซะกะ และทะเลเซะโตะ

โอซะกะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ (?????( เท็งกะ โนะ ไดโดะโกะโระ )?) เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น

หลักฐานการตั้งถิ่นฐานในเขตโอซะกะ คือ บริเวณแหล่งประวัติศาสตร์โมริโนะมิยะ (????? Morinomiya iseki) มีการค้นพบสุสานหอยนางรมและโครงกระดูกมนุษย์ในสมัย 500-600 ปีก่อนคริสตกาล เชื่อกันว่า บริเวณที่ชื่ออุเอะฮงมิยะในทุกวันนี้น่าจะเป็นคาบสมุทรและมีทะเลในแผ่นดินทางตะวันออก ในสมัยยะโยะอิ มีการค้นพบการตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นครั้งแรก ในบริเวณที่ราบของโอซะกะ โดยยึดการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก

ในยุคโคะฟุง โอซะกะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือเชื่อมต่อดินแดนทางตะวันตกของญี่ปุ่น มีการค้นพบสุสานที่บริเวณพื้นที่ราบของโอซะกะจำนวนมาก เป็นหลักฐานของความมั่นคงทางการเมือง นำไปสู่การสร้างประเทศในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 1188 จักรพรรดิโคโตะกุได้สร้างพระราชวังชื่อ นะนิวะ นะงะระ-โทะโยะซะงิ ขึ้นที่โอซะกะ และได้เนรมิตให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเมืองหลวง(กรุงนะนิวะ) พื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นเมืองใหม่ในสมัยนั้นและมีชื่อว่า นะนิวะ และชื่อนี้ก็ยังมีการใช้กันในปัจจุบัน เป็นการเรียกชื่อใจกลางของโอซะกะว่า นะนิวะ(??) และกร่อนมาเป็น นัมบะ (??) ในทุกวันนี้ แม้จะมีการย้ายเมืองหลวงไปที่อะซุกะ (ในจังหวัดนะระในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 1198 นะนิวะก็ยังเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทั้งทางบกและทางทะเลระหว่างยะมะโตะ (จังหวัดนะระ) เกาหลี และ จีน

ในปี พ.ศ. 1287 นะนิวะได้กลายมาเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่งตามคำสั่งของจักรพรรดิโชมุ แต่ได้เป็นเมืองหลวงถึงปี พ.ศ. 1288 ราชสำนักก็ย้ายกลับไปที่เฮโจ (ปัจจุบันคือ นะระ) อีกครั้ง ในปลายยุคนะระ ท่าเรือจึงค่อยๆกลายเป็นที่พักอาศัยของชาวเดินเรือ แต่ยังคงมีความคึกคักตามบริเวณแม่น้ำ คลอง และเส้นทางการคมนาคมทางบกไปยังกรุงเฮอัน (ปัจจุบันคือ เคียวโตะ) และเมืองอื่น ๆ

ในปี พ.ศ. 2039 มีการก่อตั้งศาสนาพุทธ นิกายโจโดะชินชู โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อิชิยะมะฮงกันจิ บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของพระราชวังนะนิวะ ไดเมียวโอะดะ โนะบุนะงะ หนึ่งในสามผู้รวมประเทศญี่ปุ่นเริ่มโอบล้อมวัดในปี พ.ศ. 2113 หลังจากอีกสิบปี พระในวัดก็ยอมจำนน และวัดก็ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ ไดเมียวโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ จึงได้สร้างปราสาทโอซะกะขึ้นแทนในที่แห่งนั้น

โอซะกะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน มีประชากรที่เป็นชนชั้นพ่อค้าในสัดส่วนที่สูง โดยในยุคเอะโดะ (พ.ศ. 2146 - พ.ศ. 2410) โอซะกะเติบโตไปเป็นเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นเมืองท่าที่คึกคักอีกครั้ง วัฒนธรรมของโอซะกะมีความเกี่ยวข้องกับภาพอุกิโยะ อันเป็นภาพวาดที่มีชื่อเสียงในยุคเอะโดะ โดยในปี พ.ศ. 2323 โอซะกะเป็นแหล่งวัฒนธรรม มีชื่อเสียงด้านการแสดงของโรงละครคะบุกิและละครหุ่นบุนระกุ

ในปี พ.ศ. 2380 โอชิโอะ เฮฮะชิโร ซามูไรชั้นผู้น้อย ได้นำกลุ่มชาวนาก่อการกบฏขึ้นเพื่อประท้วงผู้ปกครองเมืองที่เฉยเมยต่อคนจนและครอบครัวที่ตกต่ำในพื้นที่เหล่านี้ พื้นที่เมืองเกือบ 1 ใน 4 ถูกเผาทำลายจากการกบฏในครั้งนั้น ก่อนที่เจ้าหน้าที่จากโชกุนจะปราบกบฏลงได้ และโอชิโอะก็ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองในเวลาต่อมา

รัฐบาลโชกุนเปิดให้โอซะกะเป็นเมืองที่เปิดรับการค้ากับต่างประเทศเช่นเดียวกับเฮียวโงะ (ปัจจุบันคือ โคเบะ) ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2411 ก่อนการฟื้นฟูเมจิเพียงเล็กน้อย

กฤษฎีการัฐบาลได้ก่อตั้งโอซะกะให้มีการปกครองพิเศษ ในฐานะเมืองอันตั้งขึ้นโดยข้อบังคับ ในปี พ.ศ. 2432 มีพื้นที่เริ่มต้น 15 ตารางกิโลเมตร คือบริเวณเขตชูโอะและนิชิในปัจจุบัน ต่อมา เมืองได้ขยายตัวจนมีพื้นที่ 222 ตารางกิโลเมตรอย่างในปัจจุบัน โอซะกะเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจตามระบบทุนนิยมของญี่ปุ่น การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ทำให้ชาวเกาหลีหลายคนอพยพเข้ามาตั้งตัว ระบอบการปกครองจึงเป็นแบบผสมโดยให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองไปสู่ความเจริญ อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้น และระบบการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่รู้หนังสือและมีความชื่นชอบในงานศิลปะ

แต่ในอีกมุมหนึ่งของการเจริญเติบโต โอซะกะก็มีสลัม คนว่างงาน และคนจน เช่นเดียวกับในยุโรปและอเมริกา เทศบาลนครโอซะกะจึงจัดตั้งระบบจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อเยียวยาคนจนขึ้น โดยใช้แบบฉบับมาจากอังกฤษ ผู้ร่างนโยบายของโอซะกะได้ให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัวและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการต่อสู้กับความยากจน ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยลดงบประมาณของนโยบายเปลี่ยนแปลงเมืองไปสู่ความร่ำรวย

อย่างไรก็ตาม โอซะกะก็เสียหายอย่างหนักจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพอเมริกันได้ทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ต่างๆของโอซะกะในช่วงปีสุดท้ายของสงคราม ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่เมืองก็กลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วหลังสิ้นสุดสงคราม และกลับมาเป็นเมืองศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมได้อีกครั้งอย่างรวดเร็ว

"โอซะกะ" หมายถึง เนินเขาใหญ่ ในสมัยก่อน โอซะกะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ นะนิวะ และไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเปลี่ยนเป็นโอซะกะตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหลักฐานพบการเรียกชื่อเมืองว่าโอซะกะจากข้อความที่ปรากฏในหนังสือ ปี ค.ศ. 1496 ในสมัยก่อน โอซะกะ เขียนเป็นคันจิว่า ?? แต่คันจิตัวหลังมักอ่านผิดเป็น ?? ซึ่งมีความหมายว่า กบฏซามูไร เป็นความหมายที่ไม่ค่อยจะดีนัก ในสมัยปฏิรูปเมจิ ปี ค.ศ. 1870 จึงได้มีการเปลี่ยนคันจิของโอซะกะใหม่เป็น ?? และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน และคันจิตัวหลัง คือ ? (อ่านออกเสียงแบบอนโยมิว่า ฮัน) ก็ใช้กันอย่างกว้างขวางว่ามีความหมายถึงนครโอซะกะ และจังหวัดโอซะกะเท่านั้น

นครโอซะกะตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำทางตะวันตกของแม่น้ำโยะโดะ ริมอ่าวโอซะกะ ล้อมรอบด้วยเมืองเล็กกว่าสิบเมืองในจังหวัดโอซะกะ มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 13 ของจังหวัดโอซะกะ โดยสมัยก่อตั้งเมืองในปี 1880 เมืองแบ่งออกเป็นสองเขตเท่านั้นคือ ชูโอะ และ นิชิ มีพื้นที่เพียง 15.27 ตารางกิโลเมตร และปัจจุบัน เมืองเติบโตจนมีพื้นที่ 222.30 ตารางกิโลเมตร โดยเติบโตที่รวดเร็วที่สุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1925 เมื่อเมืองได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีก 126.01 ตารางกิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดของนครโอซะกะอยู่ในเขตสึรุมิ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 37.5 เมตร และจุดที่ต่ำที่สุด อยู่ที่เขตนิชิโยะโดะงะวะ ความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 2.2 เมตร

โอซะกะ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (CFA ตามระบบการแบ่งภูมิอากาศของเคิปเปน) มี 4 ฤดูกาลแบ่งแยกกันชัดเจน ในหน้าหนาวในอากาศหนาว อุณหภูมิลดลงต่ำสุดในเดือนมกราคม เฉลี่ย 9.3 องศาเซลเซียส โอซะกะเป็นเมืองที่ไม่ค่อยจะมีหิมะตกในช่วงฤดูหนาว ส่วนในฤดูใบไม้ผลิ มีอากาศเย็น แต่จะค่อยๆร้อนและชื้นมากขึ้น จนเข้าสู่ช่วงฤดูฝนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม จากนั้น หน้าร้อนจะมีอากาศร้อนและชื้น ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางวันอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางคืนอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ฤดูใบไม้ร่วงที่นครโอซะกะค่อนข้างเย็น โดยช่วงต้นฤดูจะคล้ายกับฤดูร้อน และปลายฤดูจะคล้ายกับฤดูหนาว

ใจกลางของโอซะกะแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 2 ส่วนคือ คิตะ (? แปลว่า เหนือ) กับ มินะมิ (? แปลว่า ใต้) และทั้งสองส่วนนี้เชื่อมต่อกันด้วยเส้นทางมิโดซึจิ

บริเวณคิตะล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ธุรกิจและค้าปลีกในย่านอุเมะดะ ส่วนบริเวณมินะมิหมายรวมถึงย่านช็อปปิ้งอย่างนัมบะ ชินไซบะชิ และโดทมโบะริ มีแหล่งบันเทิงตั้งอยู่มากมายที่สะพานโดทมโบะริ รวมทั้งสัญลักษณ์ปูยักษ์ที่มีชื่อเสียง ป้ายไฟกุลิโกะ สวนสามเหลี่ยม และหมู่บ้านอเมริกา ส่วนบริเวณระหว่างคิตะกับมินะมิก็มีโยะโดะยะบะชิและฮมมาชิที่เป็นแหล่งธุรกิจดั้งเดิม มีสถานที่ราชการ สำนักงานของธนาคารใหญ่ๆ ตั้งอยู่มากมาย ส่วนบริเวณพื้นที่ธุรกิจแห่งใหม่ของโอซะกะจะอยู่ที่บริเวณอุทยานธุรกิจโอซะกะใกล้กับปราสาทโอซะกะ นอกจากนี้ ยังมีย่านธุรกิจสำคัญอื่นๆตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีเทนโนจิและสถานีเคียวบะชิ

808 สะพานแห่งนะนิวะ คือคำกล่าวแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของโอซะกะในยุคโบราณ โดยตัวเลข 808 นี้เป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดที่ว่า"นับไม่ได้"แม้ในสมัยเอะโดะ โอซะกะจะมีสะพานเพียงแค่ประมาณ 200 แห่งก็ตาม และเนื่องจากโอซะกะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแม่น้ำ คลอง สะพานแต่ละแห่งจึงมีชื่อ และบริเวณเหล่านั้นก็มักเรียกตามชื่อของสะพานไปด้วย แม้ว่าคลองบางแห่งจากถูกถม แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังหลงเหลืออยู่ ในปี พ.ศ. 2468 โอซะกะมีสะพานอยู่ประมาณ 1629 แห่ง บางคลองบางแห่งก็ถูกถมไปจนเหลือสะพานเพียงแค่ 872 แห่ง โดยในจำนวนนี้ อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของนครโอซะกะ 760 แห่ง

จากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ.?2548 โอซะกะมีผู้อยู่อาศัย 2,628,811 คน เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 จำนวน 30,037 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 แบ่งเป็น 1,280,325 ครัวเรือน หรือประมาณครัวเรือนละ 2.1 คน ความหนาแน่นประชากรอยู่ที่ 11,836 คนต่อตารางกิโมตร โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นอพยพมาอยู่โอซะกะจำนวนมากในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2463-2473 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 เมืองมีประชากร 2,453,573 คน กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นแซงหน้าโตเกียวที่มีประชากร 2,070,913 คนในขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2483 โอซะกะมีประชากรสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,252,340 คน ส่วนช่วงหลังสงคราม นครโอซะกะมีประชากรสูงสุดที่ 3,156,222 คน ในปี พ.ศ. 2508 และค่อย ๆ ลดลงไปเนื่องจากประชาชนเริ่มทะยอยย้ายออกไปอยู่ตามเขตชานเมือง

ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในนครโอซะกะมีจำนวนที่ลงทะเบียนไว้ 99,775.5 คน โดยมีกลุ่มใหญ่คือ เกาหลี 71,015 คน และจีน 11,848 คน

สำเนียงที่พูดกันโดยทั่วไปในโอซะกะคือ สำเนียงโอซะกะ อันเป็นหนึ่งในตระกูล สำเนียงคันไซ ลักษณะที่โดดเด่นคือ การลงท้ายประโยคด้วยคำว่า เฮง แทนคำว่า ไน ในประโยคปฏิเสธของภาษาทางการ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมของนครโอซะกะในปีงบประมาณ 2547 อยู่ที่ 21.3 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.2 ตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 55 ของผลผลิตที่ได้จากจังหวัดโอซะกะ และคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของแถบคันไซ สามอุตสาหกรรมหลักของโอซะกะคือ การพาณิชย์ การบริการ การผลิต ในปี พ.ศ. 2547 มีสัดส่วนร้อยละ 30, 26 และ 11 ตามลำดับ รายได้ต่อหัวของเมืองอยู่ที่ 3.3 ล้านเยน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดโอซะกะร้อยละ 10 ขณะที่บริษัทมาสเตอร์การ์ดรายงานว่า โอซะกะเป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับ 19 ของโลก และเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจของโลก

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศโอซะกะและโคเบะอยู่ที่ 341 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นเมืองปากแม่น้ำที่มีผลผลิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเช่นเดียวกับปารีสและลอนดอน

ตามประวัติศาสตร์แล้ว โอซะกะเป็นศูนย์กลางการค้าของญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในยุคกลางและก่อนยุคใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2468 มีการก่อตั้งบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ อันเป็นบริษัทโบรกเกอร์หุ้นบริษัทแรกของญี่ปุ่น จนกระทั่งปัจจุบัน โอซะกะก็ยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนฟิวเจอร์สที่สำคัญของโลก แม้จะมมีบริษัทหลายแห่งได้ย้ายสำนักงานหลักไปอยู่ที่โตเกียว แต่ก็มีบริษัทใหญ่หลายแห่งที่สำนักงานใหญ่ยังตั้งอยู่ที่โอซะกะ เช่น พานาโซนิค ชาร์ป และซันโย และเมื่อเร็วๆนี้ นายกเทศมนตรีจุนิชิ เซะกิ ได้เริ่มโครงการดึงดูดการลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ

ศูนย์แลกเปลี่ยนหลักทรัพย์โอซะกะ ตั้งอยู่ที่นครโอซะกะ เน้นความสำคัญด้านการแลกเปลี่ยนอนุพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์สนิกเกอิ 225 นอกจากนี้ การควบรวมกับ JASDAQ ก็ช่วยให้การแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ของโอซะกะกลายเป็นแหล่งก่อตั้งบริษัทแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น

จากการศึกษาของสหรัฐอเมริกา โอซะกะมีค่าครองชีพแพงที่สุดเป็นอันดับสองของโลกสำหรับคนต่างด้าว เป็นรองเพียงแค่โตเกียว

ท่าเรือโดยสารนานาชาติโอซะกะจะเชื่อมต่อในวงที่ไกลกว่าท่าเรือของโตเกียวเนื่องจากมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ เรือโดยสารระหว่างประเทศที่ออกจากโอซะกะจะเดินทางไป เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน เกาหลี และไต้หวัน ส่วนเรือโดยสารในประเทศจะเชื่อมต่อกับคิตะคีวชู คะโงะชิมะ มิยะซะกิ และ โอะกินะวะ

ท่าเรือในแถบโอซะกะและโคเบะนำเข้าและส่งออกสินค้าวัตถุดิบจากทั่วโลก โดยไม่มีท่าใดโดดเด่นกว่ากัน ประกอบไปด้วย ท่าเรือโอซะกะ ท่าเรือโคเบะ ท่าเรือซะไก และท่าเรือฮิเมะจิ

แถบนครโอซะกะมีการเชื่อมต่อทางระบบรางที่หนาแน่น โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ อุเมดะ นัมบะ เทนโนจิ เคียวบะชิ และ โยะโดะยะบะชิ

บริษัทเจอาร์เซนทรัลและเจอาร์เวสต์ ให้บริการรถไฟความเร็วสูงซันโย ชิงกันเซ็งและโทไกโด ชิงกันเซ็ง โดยมีสถานีชินโอซะกะเป็นสถานีรถไฟชิงกันเซ็งในโอซะกะ สถานีเชื่อมต่อกับสถานีโอซะกะในอุเมะดะโดยรถไฟเจอาร์ รถไฟชิงกันเซ็งทุกขบวนจะหยุดที่สถานีชินโอซะกะแห่งนี้

บริษัทเจอาร์เวสต์แและบริษัทรถไฟเอกชนให้บริการรถไฟเชื่อมต่อระหว่างโอซะกับเขตชานเมือง โดยรถไฟของเจอาร์เวสต์จะให้บริการในชื่อรถไฟเครือข่ายมหานคร โดยมีสถานีใหญ่อยู่ตามเส้นทางรถไฟวงกลมของโอซะกะ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทรถไฟเอกชนอย่าง รถไฟฟ้าเคฮัน รถไฟฮันกีว รถไฟฟ้าฮันชิง รถไฟคินเตะสึ และรถไฟฟ้านันไก ร่วมให้บริการรับส่งผู้โดยสารในเขตเคียวโตะ โคเบะ โอซะกะ นะระ โยะชิโนะ อิเสะ และนะโงะยะ รวมถึงวะกะยะมะ และท่าอากาศยานนาชาชาติคันไซอีกด้วย

ระบบรถไฟใต้ดินของโอซะกะเป็นส่วนหนึ่งของระบบคมนาคมของโอซะกะ โดยรถไฟใต้ดินของโอซะกะนี้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นรถไฟที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก รับส่งผู้โดยสารกว่า 912 ล้านคนต่อปี (ระบบรถไฟของโอซะกะรับส่งผู้โดยสารกว่า 4 พันล้านคนต่อปี)

รถประจำทางให้บริการในเขตเทศบาลนครโอซะกะ และยังมีการให้บริการจากกลุ่มบริษัทฮันคีว ฮันชิน และคินเทตสึ ในพื้นที่ให้บริการรถไฟของแต่ละบริษัทด้วย ทำให้การคมนาคมในเมืองค่อนข้างครอบคลุม ค่าโดยสารของรถประจำทางอยู่ที่ประมาณ 200 เยน

โอซะกะเป็นแหล่งค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ มีร้านค้าส่ง 25,228 ร้านและร้านค้าปลีก 34,707 ร้านในปี พ.ศ. 2547 ร้านค้าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชูโอะ (10,468 ร้าน) และเขตคิตะ (6,335 ร้าน) มีร้านค้าหลายรูปแบบตั้งแต่โชเตงไก(???)แบบดั้งเดิมไปจนถึงห้างสรรพสินค้าบนดินและใต้ดิน โชเตงไกเป็นรูปแบบของร้านแบบดั้งเดิมที่พบได้ทั่วญี่ปุ่น และโอซะกะมีโชเตงไกที่ยาวที่สุดในโลกอยู่ที่ เทนจินบะชิ ความยาว 2.6 กิโลเมตร ขายสินค้าหลากหลายตั้งแต่ของใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้า ตลอดจนอาหารเลี้ยงสัตว์

พื้นที่สินค้าอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญคือ เดนเดนทาวน์ เป็นแหล่งรวมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการ์ตูน/อะนิเมะที่สำคัญของโอซะกะ คล้ายกับย่านอะกิฮะบะระของโตเกียว ส่วนย่านอุเมะดะเป็นแหล่งรวมห้างสรรพสินค้าและห้างโยะโดะบะชิคาเมร่า อันเป็นห้างสรรพสินค้าด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อดังของญี่ปุ่น

โอซะกะ ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองอาหาร ทั้งอาหารญี่ปุ่นและจากนานชาติ โดยนักเขียนอย่างไมเคิล บูธ และฟรองซัวส์ ไซมอน นักวิจารณ์อาหารชื่อดังของหนังสือพิมพ์เลอฟิกาโร บอกว่า โอซะกะเป็นเมืองหลวงด้านอาหารของโลก ผู้ที่ชื่นชอบอาหารโอซะกะคงจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า "เคียวโตะซื้อเสื้อผ้าขนหมดตัว โอซะกะซื้ออาหารจนหมดตัว"

เทศกาลที่มีชื่อเสียงที่สุดงานหนึ่งของโอซะกะ คือ เทศกาลเทนจิน จัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 กรกฎาคม

นอกจากนี้ โอซะกะยังมีจัดทัวร์นาเมนต์ซูโม่เป็นประจำทุกปี ที่โรงพลศึกษาจังหวัดโอซะกะ ในชื่อ ซังกัตสึบะโชะ (???? sangatsu basho)

นครโอซะกะให้บริการการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในการควบคุมดูแลของคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโอซะกะ

โอซะกะมีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมปลายจำนวนมาก มีจำนวนวิทยาเขตมากมายตั้งอยู่กระจายโดยทั่วไป แต่โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเขตชานเมือง โดยมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในจังหวัดโอซะกะ ดังต่อไปนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180